ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี

พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี (อังกฤษ: Rudolph I of Germany) (1 พฤษภาคม ค.ศ. 1218 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1291) (เยอรมัน: Rudolph of Habsburg) รูดอล์ฟทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันระหว่างปี ค.ศ. 1273 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1291 พระองค์ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมีอิทธิพลให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นราชวงศ์ชั้นนำในบรรดาราชวงศ์เยอรมันต่าง ๆ ในยุคกลาง และทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ฮับส์บูร์กองค์แรกที่ได้รับดัชชีออสเตรียและดัชชีสติเรีย ซึ่งเป็นดินแดนที่จะกลายมาอยู่ภายใต้การปกครองของฮับส์บูร์กต่อมาอีกกว่า 600 ปี และเป็นสองรัฐที่เป็นหลักของประเทศออสเตรียปัจจุบัน

รูดอล์ฟเป็นโอรสของอัลเบรชท์ที่ 4 เคานต์แห่งฮับส์บูร์ก และ เฮ็ดวิกบุตรีของอุลริค เคานต์แห่งคีบูร์ก เกิดที่ปราสาทลิมบูร์กในไบร์สเกา เมื่ออัลเบร็คท์ที่ 4 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1239 รูดอล์ฟก็ได้ดินแดนของตระกูลในอัลซาซและอาร์เกา ในปี ค.ศ. 1245 รูดอล์ฟสมรสกับเกอร์ทรูดบุตรสาวของบวร์คฮาร์ดที่ 3 เคานต์แห่งโฮเฮนบูร์ก ซึ่งทำให้รูดอล์ฟกลายเป็นบริวารสำคัญของดัชชีชวาเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชชีรากฐาน (stem duchy) ของเยอรมัน

รูดอล์ฟทรงไปมาหาสู่กับราชสำนักของพระราชบิดาทูลหัวจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ ความจงรักภักดีของพระองค์ต่อจักรพรรดิและพระเจ้าคอนราดที่ 4 แห่งเยอรมนีพระราชโอรสเป็นผลทำให้ได้รับพระราชทานดินแดนเป็นรางวัล แต่ในปี ค.ศ. 1254 รูดอล์ฟทรงถูกคว่ำบาตรโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 4 เพราะทรงสนับสนุนพระเจ้าคอนราด ระหว่างที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองกับพระสันตะปาปา ขณะนั้นพระเจ้าคอนราดทรงปกครองราชอาณาจักรซิซิลีและทรงต้องการที่จะวางรากฐานทางอำนาจทางตอนเหนือของอิตาลีโดยเฉพาะในลอมบาร์ดี ส่วนสถาบันพระสันตะปาปาผู้ทรงมีรัฐต่าง ๆ อยู่ระหว่างสองบริเวณดังกล่าวก็เกิดความระแวงถึงการขยายอำนาจที่อาจจะมีผลต่อความมีอิทธิพลเหนืออาณาจักรเหล่านี้

ความระส่ำระสายในเยอรมนีหลังจการล่มสลายของราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟินเปิดโอกาสให้รูดอล์ฟเพิ่มดินแดนเข้ามาในปกครอง พระชายาของพระองค์ก็ทรงเป็นทายาทของพระปิตุลาฮาร์ทมันน์ที่ 4 เคานท์แห่งคีบวร์ก เมื่อฮาร์ทมันน์สียชีวิตโดยไม่มีทายาทในปี ค.ศ. 1264 รูดอล์ฟก็ยึดเคาน์ตีคีบูร์ก ความขัดแย้งที่รูดอล์ฟมีชัยกับบิชอปแห่งชตรัสส์บูร์กและบาเซิลก็ยิ่งเป็นการเพิ่มดินแดนและความมั่งคั่งให้แก่รูดอล์ฟด้วย รวมทั้งชื่อเสียง หลังจากนั้นรูดอล์ฟก็ยังได้ดินแดนเพิ่มเติมจากบิดาในบริเวณที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์และอัลซาซปัจจุบัน

ความมีอิทธิพลและความมั่งคั่งที่ได้มาทำให้รูดอล์ฟกลายเป็นเจ้าผู้ครองรัฐผู้มีอำนาจมากที่สุดในเยอรมนีตะวันตกเฉียงใต้ ในบริเวณที่ดัชชีชวาเบียสลายตัวลง ซึ่งทำให้บรรดารัฐบริวารมีอิสระขึ้นมา ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1273 เมื่อเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ มาประชุมกันที่แฟรงก์เฟิร์ตเพื่อจะเลือกตั้งพระมหากษัตริย์องค์ใหม่หลังจากการเสด็จสวรรคตของริชาร์ด เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์ รูดอล์ฟก็ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1273 เมื่อมีพระชนมายุได้ 55 พรรษา การที่ได้รับเลือกเป็นผลมาจากการสนับสนุนของพระเชษฐาเขยฟรีดริชที่ 3 เบอร์เกรฟแห่งเนิร์นแบร์กและโฮเฮนโซลเลิร์น การสนับสนุนของอัลเบรชท์ที่ 2 ดยุกแห่งแซกโซนี (วิตเต็นแบร์ก) และของลุดวิกที่ 2 ดยุกแห่งบาวาเรีย เป็นเสียงที่ได้มาจากการซื้อโดยหมั้นดยุกทั้งสองคนกับลูกสาวของตนเอง การสนับสนุนนี้ทำให้สมเด็จพระเจ้าออตโตคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียผู้เป็นพระนัดดาของฟิลิปแห่งชวาเบีย ผู้เป็นอีกผู้หนึ่งที่หาเสียงในการเลือกตั้งเป็นพระมหากษัตริย์แทบจะเป็นผู้หาเสียงผู้เดียวโดยไม่มีผู้สนับสนุน

รูดอล์ฟทรงเข้าพิธีราชาภิเษกที่มหาวิหารอาเคินเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1273 เพื่อเป็นการแลกกับการยอมรับโดยพระสันตะปาปารูดอล์ฟก็ยอมสละพระราชสิทธิในกรุงโรม ในดินแดนของพระสันตะปาปา และซิซิลี และทรงสัญญาว่าจะนำสงครามครูเสด แม้ว่าจะได้รับการประท้วงจากพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 10 ไม่เพียงแต่จะทรงยอมรับการครองราชย์ของรูดอล์ฟว่าเป็นไปโดยชอบธรรมแต่ยังทรงหว่านล้อมให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งคาสตีล (พระนัดดาอีกองค์หนึ่งของฟิลิปแห่งชวาเบีย) ผู้ทรงได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีในปี ค.ศ. 1257 ต่อจากเคานต์วิลเฮล์มที่ 2 แห่งฮอลแลนด์ให้สนับสนุนด้วย ซึ่งทำให้รูดอล์ฟได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเหนือกว่าทายาทโฮเฮนชเตาเฟินที่เคยรับใช้ด้วยความภักดีก่อนหน้านั้น

ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1274 ราชสภาเยอรมัยในเนิร์นแบร์กก็อนุมัติว่าดินแดนที่ถูกยึดไปหลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิฟรีดริชต้องได้รับการคืนมา และพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 ต้องมาปรากฏตัวต่อสภาในฐานะที่ไม่ทรงยอมรับพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ พระเจ้าออทโทคาร์ทรงปฏิเสธที่จะปรากฏพระองค์และไม่ทรงยอมคืนมณฑลออสเตรีย สติเรีย คารินเทีย และ คาร์นิโอลา ที่พระองค์ทรงอ้างสิทธิโดยทางพระชายาองค์แรกผู้ทรงเป็นทายาทของบาเบ็นแบร์ก และยึดมาเป็นของพระองค์เองในระหว่างความขัดแย้งกับทายาทของบาเบนแบร์กคนอื่น แฮร์มันน์ที่ 6 มาร์กราฟแห่งบาเดิน รูดอล์ฟค้านสิทธิในการครองดินแดนของออตโตคาร์โดยสิทธิการเป็นสามีของทายาทบาเบนแบร์ก และทรงประกาศว่าจังหวัดต่างๆ เหล่านั้นกลับมาเป็นของราชบัลลังก์เยอรมันเพราะขาดทายาทที่เป็นชาย (ซึ่งเป็นพระราชนโยบายที่ขัดกับพระราชกฤษฎีกาทายาทรอง (Privilegium Minus) ที่ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 ในปี ค.ศ. 1156 ที่อนุญาตให้ดินแดนตกไปเป็นของสตรีได้)

พระเจ้าออทโทคาร์ทรงถูกแบน และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1276 เยอรมันก็ประกาศสงครามต่อพระองค์ หลังจากที่ทรงหว่านล้อมให้ไฮน์ริชที่ 1 ดยุกแห่งบาวาเรียใต้ผู้สนับสนุนออตโตคาร์หันมาเข้าข้างพระองค์แล้ว รูดอล์ฟก็บังคับให้พระเจ้าออทโทคาร์คืนสี่มณฑลให้กับสำนักงานแผ่นดินในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1276 หลังจากนั้นรูดอล์ฟก็พระราชทานโบฮีเมียให้กับออตโตคาร์ และทรงยกพระราชธิดาให้กับพระราชโอรสของออตโตคาร์เวนสเลาส และทรงนำขบวนเสด็จเข้ากรุงเวียนนาอย่างผู้ได้รับชัยชนะ

แต่ทางพระเจ้าออทโทคาร์ก็ทรงมีปัญหาในข้อปฏิปัติของสนธิสัญญา และหันไปสร้างพันธมิตรกับประมุขในดินแดนโปแลนด์บางกลุ่ม และกับเจ้าเยอรมันบางพระองค์ที่รวมทั้งอดีตพันธมิตรของรูดอล์ฟไฮน์ริชที่ 1 ดยุกแห่งบาวาเรียใต้ ในการต่อต้านรูดอล์ฟก็ไปสร้างพันธมิตรกับพระเจ้าลาดิสเลาสที่ 4 แห่งฮังการี และพระราชทานสิทธิให้แก่ประชาชนชาวเวียนนาเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1278 กองทัพของทั้งสองฝ่ายก็ปะทะกันบนฝั่งแม่น้ำมาร์ชในยุทธการเดิร์นครุทและเยเดนชปีเก็น (Battle of D?rnkrut and Jedenspeigen) ที่ออตโตคาร์ทรงได้รับความพ่ายแพ้และทรงถูกสังหาร โมราเวียถูกปราบปรามให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลผู้แทนของรูดอล์ฟ ทิ้งให้คุนิกุนดา สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโบฮีเมีย (Kunigunda, the Queen Regent of Bohemia) ครอบครองแต่เพียงดินแดนรอบกรุงปราก

จากนั้นรูดอล์ฟก็หันความสนใจไปยังดินแดนออสเตรียและมณฑลที่ติดกันที่ได้รับมาอยู่ในพระราชอำนาจ พระองค์ทรงใช้เวลาหลายปีในการวางรากฐานของพระราชอำนาจ แต่ทรงประสบกับอุปสรรคในการแต่งตั้งพระญาติพระวงศ์ให้ไปสืบครองดินแดนเหล่านั้น แต่ในที่สุดก็ทรงได้รับชัยชนะ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1282 รูดอล์ฟก็ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสอัลเบรชท์ และ รูดอล์ฟ เป็นดยุกแห่งออสเตรียและดัชชีสติเรีย ซึ่งเป็นการวางรากฐานทางอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก

ทางด้านตะวันตกในปี ค.ศ. 1281 รูดอล์ฟก็บังคับให้ฟิลิป เคานต์แห่งพาลาไทน์แห่งเบอร์กันดี ให้ยกดินแดนบางส่วนให้แก่พระองค์ และทรงบังคับให้ประชาชนชาวเบิร์นส่งส่วยที่ยุติลงตามที่ได้ตกลงกันก่อนหน้านั้น ในปี ค.ศ. 1289 รูดอล์ฟก็เดินทัพไปบังคับให้ผู้สืบครองต่อจากฟิลิปออตโตที่ 4 แสดงความสวามิภักดิ์

ในปี ค.ศ. 1281 พระอัครมเหสีองค์แรกก็สิ่นพระชนม์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1284 รูดอล์ฟก็เสกสมรสกับอิสซาเบลแห่งเบอร์กันดีธิดาของฮิวจ์ที่ 4 ดยุกแห่งเบอร์กันดี

รูดอล์ฟไม่ทรงประสบความสำเร็จกับการรักษาความสงบภายในเยอรมนี พระองค์ทรงออกพระราชประกาศเพื่อการรักษาความสงบสุขในบาวาเรีย, ฟรังโคเนีย และ ชวาเบีย และหลังจากนั้นเยอรมันทั้งหมด แต่ก็ไม่มีพระราชอำนาจ พระราชทรัพย์ หรือพระราชประสงค์ในการดำเนินนโยบายเท่าใดนัก นอกจากการออกเดินทางไปทำการปราบปรามในทูริงเกียครั้งหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1291 รูดอล์ฟพยายามหาวิธีให้พระราชโอรสอัลเบรชท์ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์เยอรมัน แต่เจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ ทรงปฏิเสธว่าไม่สามารถจะสนับสนุนการมีพระมหากษัตริย์สองพระองค์ได้ แต่เหตุผลที่แท้จริงอาจจะมาจากการเกรงอำนาจของฮับส์บวร์กที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ

ในปี ค.ศ. 1286 รูดอล์ฟก็เริ่มดำเนินนโยบายการเบียดเบียนชาวยิวโดยประกาศว่าชาวยิวเป็น "servi camerae" (ข้าของพระคลัง) ที่เท่ากับว่าชาวยิวหมดเสรีภาพทางการเมือง ชาวยิวที่รวมทั้งราไบแมร์แห่งโรเทนบวร์กพยายามหนีออกจากเยอรมนีแต่ไปถูกจับที่ลอมบาร์ดีและนำกลับมาขังไว้ที่อัสซาซ กล่าวกันว่ามีผู้พยายามรวบรวมเงินเป็นจำนวนมาก (23,000 มาร์ค) เพื่อไถ่ตัว แต่งราไบแมร์ไม่ยอมเพราะเกรงว่าจะเป็นแบบฉบับให้มีการจับตัวราไบอื่นๆ เรียกค่าไถ่ ราไบแมร์เสียชีวิตเจ็ดปีหลังจากที่ถูกคุมขัง สิบสี่ปีหลังจากที่เสียชีวิตอเล็กซานเดอร์ เบ็น ชโลโมก็จ่ายเงินไถ่ร่างและนำไปฝังที่มาฮาราม

รูดอล์ฟเสียชีวิตที่สเปเยอร์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1291 และร่างถูกฝังไว้ภายในมหาวิหารชไปเยอร์ แม้ว่าจะมีครอบครัวใหญ่แต่ผู้ที่มีชีวิตยืนกว่ารูดอล์ฟก็มีแต่อัลเบรชท์ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอัลเบรชท์ที่ 1 แห่งเยอรมนี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301